20/6/58

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

http://keranews.org/post/think-beauty-computer-code
       ...มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า ภาษาธรรมชาติ” (Natural Language) เพราะมีการศึกษาได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เกิด แต่การใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษาขึ้นมาสำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จึงจัดเป็น "ภาษาประดิษฐ์" (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างขึ้นมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวแน่นอนซึ่งกฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ เราสามารถแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้...

1.ภาษาเครื่อง (Machine Language)

เป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งได้ทันทีโดยไม่ต้องมีตัวแปลภาษาอื่นใดเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด โดยช่วงก่อนปี ค.ศ. 1952 เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยภาษาเครื่องภาษาเดียวเท่านั้น เนื่องจากยุคนั้นยังไม่มีการพัฒนาภาษาระดับอื่น ๆ เข้ามาเพื่อช่วยในการทำงาน อีกทั้งคำสั่งของภาษาเครื่องจะใช้เลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 แทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือแต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมากไม่เหมาะสำหรับการพัฒนาโปรแกรมทางด้านธุรกิจหรือเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด

http://www.123rf.com/photo_4937877_binary-computer-data-background-with-1-and-0.html
2.ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)

เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม ดังนั้น จึงมีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นมาอีกระดับหนึ่งโดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนตัวเลข 0 กับ 1 เป็นการใช้และตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ นั่นเอง การใช้สัญลักษณ์ช่วยในการเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ” ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก บางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ  ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นตัวเลขล้วน ดังตารางแสดงตัวอย่างของภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่องที่สั่งให้มีการบวกจำนวน ที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ

ตาราง แสดงความสัมพันธ์ของคำสั่งในภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่อง



ภาษาระดับต่ำ            ภาษาเครื่อง                   รหัสเลขฐานสิบหก
MOV   AL,05                  10110000                 00000101       B0      05
MOV   BL,08                  10110011                 00001000       B3      08
ADD   AL,BL                  00000000                 11011000       00      D8
MOV   CL,AL                 10001000                 11000001       88      C1

จากตาราง 
บรรทัดแรก 10110000 00000101 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 5 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00000101) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ AL โดยส่วนแรก 10110000 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่สอง 10110011 00001000 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 8 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00001000) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ BL โดยส่วนแรก 10110011 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ BL
บรรทัดที่สาม เป็นคำสั่งการบวกระหว่างรีจิสเตอร์ AL กับ BL หรือนำ 5 บวก 8 ผลลัพธ์เก็บในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่สี่ เป็นการนำผลลัพธ์จากรีจิสเตอร์ชื่อ AL ไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ชื่อ CL

การใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น  เครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทำงานได้ทันที จำเป็นต้องมีการแปลภาษากลับเป็นภาษาเครื่องเสียก่อน โดยโปรแกรมที่ใช้แปลมีชื่อว่า แอสเซมเบลอร์” (Assembler) ซึ่งจะมีความแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้นแอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปลโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีของเครื่องชนิดอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำ ในทำนองเดียวกันกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อย และมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
http://www.peter-cockerell.net/aalp/html/app-c.html
3.ภาษาระดับสูง (High Level Language)

ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ไม่ต้องกังวลว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงกลับเป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่

  • ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++) ภาษาซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นานภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ นอกจากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ที่ชื่อว่า ภาษาซีพลัสพลัส” (C++)

http://www.mpgh.net/forum/showthread.php?t=69305



      https://mrwachs.wordpress.com/tag/xhtml/
    • ภาษาจาวา (Java) ถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้ นอกจากนี้ เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือ แม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งานระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่า แอปเพล็ต” (Applet) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้น เรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) ได้

    • ภาษา C# (ซี-ชาร์ป) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่ใช้สาหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน และเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสาหรับผู้ที่เริ่มต้นสนใจที่จะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภาษา C# ถูกพัฒนามาจากภาษา C++ (ซีพลัสพลัส) และมีโครงสร้างแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) โดยใช้ Visual Studio (วิชวลสตูดิโอ) เป็นเครื่องมือสาหรับพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Visual Studio เป็นเครื่องมือที่คอยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ไม่ยากนัก ภาษา C# ได้รวบรวมข้อดีของภาษาต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษา Java ภาษา C และ ภาษา C++ โดยมีข้อดีดังนี้

    1. เป็นภาษาที่เขียนง่าย ไม่ซับซ้อนและเรียบง่าย เพราะคล้ายภาษา Java ภาษา C และภาษา C++ ทาให้หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก
    2. เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภายใต้แนวคิด .NET Framework ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน
    3. เป็นภาษาที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบน .NET Framework (ดอตเน็ต เฟรมเวิร์ก) โดย .NET Framework เป็นรูปแบบในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ซึ่งบริษัทไมโครซอฟท์เป็นผู้พัฒนา ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของ .NET Framework ก็คือ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่แตกต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหา เช่น เครื่องพีซีกับเครื่องแมค หรือ ระบบปฏิบัติการวินโดว์กับระบบปฏิบัติการแมคอินทอช เป็นต้น ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจึงสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ได้โดยง่าย รวดเร็ว และไม่ต้องติดข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างเช่นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในสมัยก่อนอีกต่อไป
    4. เป็นภาษาที่แข็งแกร่ง เพราะเป็นภาษาที่ได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของภาษา Java ภาษา C และภาษา C++ ทำให้ภาษา C# เป็นภาษาที่มีความสมบูรณ์ที่สุดตามแบบฉบับของโครงสร้างแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming)
    https://sites.google.com/site/programmingm42/phasa-c

    4.ภาษาระดับสูงมาก (Very High-Level Language)


    หรือภาษายุคที่ 4 (Fourth-Generation Language) หรือ 4 GLs เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษายุคก่อน ๆ โดยภาษายุคที่ 4 นี้ มีคุณสมบัติแบ่งแยกจากภาษายุคก่อนอย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการเขียนโปรแกรม แบบโพรซีเยอร์ (Procedure Language) ในขณะที่ภาษายุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช่โพรซีเยอร์ (Non-Procedure Language) ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว

    5.ภาษาธรรมชาติ (Nature Language)


    ป็นภาษายุคที่ 5 (Fifth-Generation Language) หรือ 5GLs หมายถึง ธรรมชาติของมนุษย์ คือ ไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะใช้คำศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาตจะใช้ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ

           ...อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาษาระดับต่ำและภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถรับรู้ได้ จึงจำเป็นต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้เป็นตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน และสิ่งนั้นคือ โปรแกรมแปลภาษา (Translator) นั่นเอง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้...

    1.ตัวแปลภาษาระดับต่ำ 


    ภาษาระดับต่ำแม้ว่าจะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่องแต่ลักษณะของภาษานี้ใช้ตัวอักษรแทนชุดคำสั่งของเลขฐานสอง (0,1) ในภาษาเครื่อง จึงจำเป็นต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้แปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งชุดคำสั่งที่ใช้แปลภาษาระดับนี้ ได้แก่ โปรแกรมภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ที่ใช้ตัวแปลที่มีชื่อว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler)
    http://www.pp4s.co.uk/main/tu-asm-intro.html
    2.ตัวแปลภาษาระดับสูง


    ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยมีรูปแบบคำสั่งที่มนุษย์อ่านและสามารถเข้าใจได้เพราะใช้อักขระในภาษาอังกฤษเป็นองค์ประกอบ แต่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจคำสั่งนั้น ๆ จึงจำเป็นต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องอีกที ซึ่งโปรแกรมภาษาระดับสูงจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    • คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ลักษณะการแปลภาษาระดับสูงของคอมไพเลอร์นั้นเป็นลักษณะการตรวจสอบคำสั่งที่ได้รับเข้ามาว่าการเขียนคำสั่งนั้นถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาหรือไม่ ถ้ายังไม่ถูกต้องก็จะแจ้งข้อผิดพลาดให้ผู้ใช้ทราบเพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ถ้าหากตรวจสอบแล้วถูกต้องจะแปลจาก Source Program ให้เป็น Object Program เก็บไว้ในหน่วยความจำ และถ้ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชุดคำสั่งใหม่ จะต้องมีการแปลชุดคำสั่งใหม่ทั้งโปรแกรม เพื่อเก็บ Object Program อีกครั้ง การใช้คอมไพเลอร์ถ้าเป็นชุดคำสั่งที่ต้องการทำการประมวลผลต่อเนื่องกันหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้การประมวลผลเร็ว เพราะไม่ต้องแปลใหม่อีก สามารถเรียกใช้ Object Program ได้เลย ภาษาที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล ภาษาซี เป็นต้น  

    http://www.bloodshed.net/dev/devcpp.html


    • อินเตอร์พรีตเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเช่นเดียวกันกับคอมไพเลอร์ จะแตกต่างอยู่ที่อินเตอร์พรีตเตอร์นั้นทำการแปลและประมวลผลทีละคำสั่ง และทำการประมวลผลทันทีโดยไม่ต้องทำให้เป็น Object Program ถ้าหากพบข้อความผิดพลาดโปรแกรมจะหยุดทำงานทันที เมื่อทำการแก้ไขชุดคำสั่งก็ต้องแปลค่าคำสั่งที่แก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งจึงจะทำการประมวลผลได้โดยที่ไม่ต้องแปลใหม่หมดทั้งโปรแกรม แต่จะทำให้การประมวลผลช้าลง เพราะต้องแปลใหม่ทุกครั้งที่มีการประมวลผล ภาษาที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก เป็นต้น 


    https://www.cs.uaf.edu/~cs631/node4.html
    http://district.bluegrass.kctcs.edu/kevin.dunn/files/Microprocessor_Fundamentals/Microprocessor_Fundamentals_print.html
    http://www.circuitstoday.com/compilers-vs-interpreters-an-overview-of-the-differences
    http://www.cforall.in/2014/09/difference-between-compiler-and.html


    ที่มา:
    http://www.tice.ac.th/division/website_c/about/page2.htm#
    https://sites.google.com/site/programcomputer56/home/phasa-khxmphiwtexr
    https://sites.google.com/site/programmingm42/phasa-c

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น