http://thedoctorweighsin.com/arianna-and-lupe-and-deepak-and-sanjay-will-the-cool-factor-drive-mobile-health-adoption/
...ณ ปัจจุบัน เราคงไม่พบผู้ใดที่ยังใช้การติดต่อสื่อสารผ่านทางโทรเลขอีก และก็คงเป็นเพียงส่วนน้อยที่คนสองคนจะพูดคุยกันผ่านทางจดหมาย เพราะเหตุใดสิ่งเหล่านี้จึงได้ถูกลดความนิยมในการใช้งานลงไป ? นั่นก็เพราะว่า ปัจจุบัน "เทคโนโลยี" ได้แทรกซึมเข้ามาในแทบทุกอณูชีวิตของเรา ซึ่งสิ่งนี้เองที่เป็นตัวช่วยสำคัญในการทำให้ชีวิตของเรานั้นง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น เหนื่อยน้อยลง อีกทั้งยังช่วยย่นระยะเวลาในการทำสิ่ง ๆ หนึ่งลงไป ดังนั้น เราจะมัวไปใช้โทรเลข หรือจดหมาย อยู่ทำไมอีก ในเมื่อเรามีโทรศัพท์มือถืออยู่ในมือ...
แต่ละยุคสมัยผ่านไป โทรศัพท์มือถือก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนกลายเป็น "สมาร์ทโฟน" อย่างที่เห็นกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เราเริ่มมีการใช้งานแอปพลิเคชั่นที่อำนวยความสะดวกในการพูดคุยติดต่อสื่อสาร เช่น Line, WeChat, Kakao Talk เป็นต้น และในขณะเดียวกันก็มีแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันเกิดขึ้นเรื่อย ๆ จากความเจริญทางเทคโนโลยี เช่น Facebook, Twitter, Tumblr, Instagram เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่กล่าวไปเหล่านี้ ล้วนแต่ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้นเป็นหลายเท่าตัว จะเห็นว่าข้อดีของมันก็คือ การอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ การใช้แอปพลิเคชั่นดังกล่าวยังเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำงานอีกด้วยในมุมมองหนึ่ง
ที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ หลายคนก็คงจะทราบกันแล้วว่านี้เอง คือความหมายของคำว่า "Social Network"
http://www.yourmis.com/services/social-networking
Social Network กับเยาวชนไทย
ทุกวันนี้คำว่า "เว็บไซต์ โซเชียล เน็ตเวิร์ก" หรือ
"เครือข่ายสังคมออนไลน์" ไม่ใช่คำใหม่ในสังคมอีกแล้ว
โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน
ทำให้โลกปัจจุบันกลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดนไปแล้ว ทว่า
การเข้ามาของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็เป็นเสมือน "ดาบสองคม"
ที่มีทั้งด้านดี และด้านเสีย ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
หรือเกิดโทษแก่ตัวเอง
ในด้านการพัฒนาการศึกษาโดยอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน
"โซเชียล เน็ตเวิร์ก" ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้ครูผู้สอน
และนักเรียนใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น นอกเหนือจากเวลาที่อยู่ในห้องเรียน ดังเช่นที่
"คณะกรรมการด้านการศึกษา" ของรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
มีมติเห็นชอบในการที่จะกำหนดนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการนำเอา
"โชเชียล เน็ตเวิร์ก" มาใช้ในฐานะเครื่องมือการเรียนการสอน
ยกตัวอย่างในกรณีของ "Facebook" หรือ "Myspace" เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยม
ซึ่งทางคณะกรรมการฯ เล็งเห็นว่า แทนที่บรรดาเด็กนักเรียนจะอาศัยเว็บไซต์เครือข่ายฯ
เหล่านี้ในการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
หรือใช้เป็นพื้นที่ในการบอกกล่าวความรู้สึกของตนต่อคนรอบข้างเพียงอย่างเดียว
แต่แอปพลิเคชั่น หรือฟังก์ชั่นต่าง ๆ
ของเว็บไซต์เหล่านี้ยังสามารถเชื่อมโยงพวกเขากับสถาบันการศึกษา
หรืออาจารย์ผู้สอนได้ด้วย เช่น การสั่งรายงาน ส่งการบ้าน
หรือแม้กระทั่งแจ้งเตือนเกี่ยวกับวันเวลาสอบ เป็นต้น ขณะเดียวกัน
การที่ครูเข้ามาอยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่
ได้เป็นหูเป็นตา ในการสอดส่องดูแลผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาศัยช่องทางการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดนนี้เข้ามาสร้างความเสียหาย
หรือก่อภัยคุกคาม โดยเฉพาะอาชญากรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศแก่พวกเด็ก ๆ ได้
ดังที่มีข่าวออกมาให้เราเห็นอยู่บ่อย ๆ กรณีของ "คิมิยะ ฮากิกิ"
นักเรียนสาววัย 17 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับเกรด 11 ของโรงเรียนแลงเลย์
ไฮสคูล ก็อีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการ
พัฒนาทักษะการเรียนรู้
โดยก่อนหน้านี้เธอมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนเช่นเดียวกับนักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษของ
"อ.อูเบรย์ ลุดวิก" ทว่าครูผู้สอนของเธอได้แนะนำให้เธอและเพื่อนในชั้นเรียนใช้
"ทวิตเตอร์" ส่งข้อความหากัน แล้วผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ
เมื่อปัญหาการเขียนที่เคยเยิ่นเย้อ และประณีตเกินไปก่อนหน้าได้รับการแก้ไข
อันเป็นผลจากการ "ทวีต" ข้อความซึ่งมีการจำกัดอักขระอยู่ที่ไม่เกิน 140 ตัวอักษรต่อครั้งเท่านั้น
https://studentaffairscollective.org/creating-an-engaging-social-media-strategy/
Social Network กับสังคมไทย
แม้ว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กจะมีประโยชน์ต่อเราอย่างมหาศาล แต่ในความเป็นจริงแล้ว โทษนั้นก็มีอยู่มากไม่แพ้กันเลย การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการอำนวยความสะดวก "เมื่อจำเป็น" เป็นเรื่องที่ดี แต่หากใช้มากเกินไปจะส่งผลให้เราเป็นคนติดสบาย และกลายเป็นคนขี้เกียจไปโดยปริยาย และยังทำให้เรามีโลกส่วนตัวสูง ชอบอยู่คนเดียว ทำให้การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในโลกแห่งความเป็นจริงน้อยลงอีกด้วย และด้วยเหตุนานัปการ จึงส่งผลให้สังคมไทยปัจจุบันกลายเป็น "สังคมก้มหน้า" ไปอย่างสิ้นเชิง ดังจะแสดงให้เห็นด้วยรูปสะท้อนสังคมต่อไปนี้ (ขอขอบคุณรูปภาพประกอบจาก www.kiitdoo.com/22-ภาพ-สังคมก้มหน้า/)
...สุดท้ายนี้ อยากทิ้งท้ายไว้ว่า การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นช่วยให้เรามีความสะดวกสบายก็จริง แต่ทุกอย่างมีด้านดีก็ต้องย่อมมีด้านเสีย เพราะฉะนั้น เราควรรู้เวลาว่าเมื่อใดควรใช้ รู้จักแบ่งเวลา รู้กาลเทศะ หากทำได้ตามที่บอก รับรองได้เลยว่าจะไม่มีทางตกเป็นทาสของเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างแน่นอน และที่สำคัญก็ยังคงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ดี ที่จะต้องคอยระวังภัยและควบคุมพฤติกรรมการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กของลูกหลาน ไม่ใช่ผลักให้เป็นหน้าที่ของรัฐหรือของผู้ประกอบการแต่เพียงอย่างเดียว การสร้างสังคมที่ดีต้องเกิดจากคนทุกฝ่าย ไม่มีเทคโนโลยีชั้นสูงใดจะสามารถสร้างความอบอุ่นด้วยความรักและความประสงค์ดีมากไปว่าระบบเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “ครอบครัว” อีกแล้ว...
ที่มา:
http://www.kiitdoo.com/22-ภาพ-สังคมก้มหน้า/
http://kanitthamsu.blogspot.com/2012/09/social-network.html
http://v-siam.blogspot.com/2012/06/blog-post_9773.html
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น